เมนู

อรรถกถารโหคตวรรคที่ 2



อรรถกถารโหคตสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในรโหคตสูตรที่ 1 แห่งรโหควรรค ดังต่อไปนี้
บทว่า ยงฺกิญฺจิ เวทยิติ ตํ ทุกฺขสฺมิ ความว่า ความเสวย
อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นทั้งหมดเป็นทุกข์. ในบทว่า สงฺขารานํ
เยว อนิจฺจตํ
เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความที่แห่ง
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีความในรูป เสื่อมไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
อย่างนี้ใด เราหมายถึงข้อนี้ จึงกล่าวว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง นั้นเป็นทุกข์ อธิบายว่า เวทนาทั้งปวงเป็นทุกข์ ด้วยความ
ประสงค์นี้ว่า เพราะว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แม้เวทนาทั้งหลาย ก็
ไม่เที่ยงเหมือนกัน. ก็คือว่าความไม่เที่ยงนี้ เป็นมรณะ ชื่อว่าความทุกข์
ยิ่งกว่ามรณะ ย่อมไม่มีดังนี้.
บทว่า อถโข ปน ภิกฺขุ มยา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ปรารภเพื่อแสดงว่า เราบัญญัติความดับแห่งเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
หามิได้ เราบัญญัติความดับแห่งธรรมแม้เหล่านี้ด้วย. ตรัสความสงบและ
ความระงับตามอัธยาศัยของบุคคลผู้รู้ ด้วยเวทนาเห็นปานนี้. พึงทราบว่า
อรูปฌาน ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้วในที่นี้ด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธศัพท์
จบ อรรถกถารโหคตสูตรที่ 1

2. ปฐมวาตสูตร



ว่าด้วยเวทนา 3 เปรียบด้วยลมต่างชนิด



[395] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไป
แม้ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือ
บ้าง ลมทิศใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง
ลมอ่อนบ้าง ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิด
ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ฉันนั้นเหมือนกันแล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา
บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[396] เปรียบเหมือนลมมากมายหลายชนิด พัดไป
ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศ
ตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือบ้าง ลมทิศใต้บ้าง
มีธุลีบ้าง ไม่มีธุลีบ้าง บางครั้งลมหนาว บางครั้ง
ลมร้อน บางครั้งลมแรง บางครั้งก็ลมอ่อน
ลมมากมายพัดไป ฉันใด เวทนา ย่อมเกิดขึ้น
ในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือสุขเวทนาบ้าง
ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เมื่อใด
ภิกษุมีความเพียร รู้สึกอยู่ เข้านิโรธ เมื่อนั้น